การจัดฟัน เป็นหนึ่งในหัตถการด้านทันตกรรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาฟันเรียงตัวไม่สวยงาม ฟันยื่น ฟันเก ฟันห่าง รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร เพื่อให้ฟันกลับมาเรียงตัวสวยสุขภาพดี และสามารถกินอาหารได้อร่อยอีกครั้งหนึ่ง
หลาย ๆ คนมักมีเรื่องกังวลใจเกี่ยวกับการจัดฟันว่า ปัญหาฟันแบบไหนที่ควรจัดฟันบ้าง การจัดฟันมีให้เลือกกี่แบบ แล้วเราต้องดูแลตัวเองอย่างไรหลังการจัดฟัน เนื่องจากการจัดฟันเป็นหัตถการที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน ต้องมีวินัยค่อนข้างสูง ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลยทีเดียว จึงทำให้หลาย ๆ คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟันรู้สึกลังเลใจว่าควรจัดฟันดีไหม The Tooth Club จึงอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจการจัดฟันไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้ เพื่อให้คนไข้ที่กำลังกังวลใจ นำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การจัดฟัน (Orthodontic Treatment) เป็นหนึ่งในทันตกรรมเพื่อความงาม (Cosmetic Dentistry) ที่ทันตแพทย์จะวิเคราะห์ วินิจฉัย และวางแผนการรักษาฟันที่มีปัญหา มีการเรียงตัวผิดปกติ เพื่อให้ฟันกลับมาบดเคี้ยวอย่างมีประสิทธิภาพได้อีกครั้ง ลดปัญหาฟันสึก ฟันผุ ให้ฟันสามารถสบกันได้ดีขึ้น ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเหงือก และความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงช่วยเพิ่มความมั่นใจ เสริมสร้างบุคลิกภาพ และมอบรอยยิ้มที่สวยงามกลับมาให้เราอีกครั้ง โดยทันตแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือในการจัดฟันตามความเหมาะสมของปัญหาฟันในแต่ละเคส
การจัดฟันเด็ก สามารถทำได้ในกรณีที่เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน โดยส่วนใหญ่เป็นการแก้ไขปัญหาฟันเบื้องต้นตั้งแต่ชุดฟันน้ำนม หรือชุดฟันผสม เหมาะสำหรับเด็กที่มีการสบฟันผิดปกติ เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร มีฟันเก ฟันยื่น ฟันกัดเบี้ยว ฟันสบคร่อม และฟันสบลึก ให้ฟันกลับมาเรียงตัวสวยงาม บดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยช่วงอายุที่สามารถจัดฟันได้ เริ่มตั้งแต่ 4-5 ขวบในชุดฟันน้ำนม และอายุ 7-8 ขวบในชุดฟันผสม
การจัดฟัน แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ตามเครื่องมือที่ใช้ดังต่อไปนี้
เพราะรีเทนเนอร์ (Retainer) เป็นเครื่องมือสำหรับคงสภาพฟัน หลังจากเราจัดฟันเสร็จเรียบร้อนแล้วฟันจะยังไม่เข้าที่ดี จำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์เพื่อคงสภาพฟันที่จัดจนเรียงตัวสวยงามเป็นระเบียบแล้วให้คงอยู่กับที่ หากคนไข้ไม่ใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ อาจส่งผลให้ฟันล้ม หรือฟันกลับไปเรียงตัวไม่สวยงามเหมือนเดิมได้
เมื่อฟันเคลื่อนตัวไปอยู่ในตำแหน่งใหม่ที่จัดไว้แล้ว กระดูก และเหงือกจะปรับโครงสร้างใหม่เพื่อรองรับฟันในตำแหน่งใหม่ เราก็อาจถอดรีเทนเนอร์ได้บ้างเป็นบางเวลา แต่ช่วงเดือนแรกของการถอดเครื่องมือจัดฟัน ทันตแพทย์จะเน้นย้ำให้ใส่รีเทนเนอร์ทุกวัน ตลอดทั้งวัน เป็นเวลา 1 ปี ป้องกันไม่ให้ฟันเคลื่อนที่ หลังจากครบ 1 ปี อาจใส่รีเทนเนอร์เฉพาะตอนนอนได้ เพื่อช่วยประคองฟันไม่ให้เคลื่อนที่ไปมากกว่านี้ แต่ทั้งนี้ระยะเวลาการใส่รีเทนเนอร์ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้ดูแลเคส
การขูดหินปูนช่วงจัดฟัน เป็นหนึ่งในขั้นตอนการเคลียร์ช่องปาก ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จำเป็นมาก เพราะการเคลียร์ช่องปาก เป็นการตรวจสอบสุขภาพฟันโดยรวม บันทึกปัญหาเหงือก และฟันของคนไข้โดยละเอียด เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป โดยการเคลียร์ช่องปาก ประกอบไปด้วย
ตอบ โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1- 3 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาฟัน รวมไปถึงความร่วมมือของคนไข้ หากปฏิบัติตนตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด มาพบตามนัดสม่ำเสมอ ฟันก็จะเข้าที่ไว ระยะเวลาจัดฟันก็จะน้อยลงตามไปด้วย
ตอบ โดยปกติฟันน้ำนมซี่สุดท้ายจะหลุดไปตอนอายุประมาณ 12 ปี หากมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน ต้องการจัดฟัน และไม่มีปัญหาของกระดูกขากรรไกรเข้ามาเกี่ยวข้อง สามารถเริ่มช่วงเวลานี้ได้เลย เพราะช่วงวัยนี้กระดูกกราม และการเรียงตัวของฟันยังสามารถเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่ต้องการได้ง่ายกว่าวัยผู้ใหญ่
ตอบ มีส่วน เพราะการจัดฟันช่วยให้ฟันเรียงตัวอย่างสวยงาม ลดความยื่นอูมบริเวณปาก ทำให้ใบหน้าเข้ารูปสวยงามมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในบางกรณียังมีการถอนฟันร่วมด้วย เมื่อเราสูญเสียฟันบางซี่ไปย่อมส่งผลให้รูปหน้ามีการเปลี่ยนแปลง เช่น กรณีที่ถอนฟันบนอาจทำให้จมูกดูโด่งขึ้น หากเป็นฟันล่างจะทำให้คางดูชัดมากขึ้น ทั้งที่จมูก และคางยังเท่าเดิมนั่นเอง