คิดถึงการผ่าฟันคุดทีไร ความกังวลก็เข้ามาครอบงำจิตใจทุกที ไหนจะกังวลเรื่องการผ่า อาการปวดที่เป็นอยู่ และวิธีดูแลตัวเองหลังผ่าอีก แต่ความกังวลเหล่านั้นจะหมดไปหากทำความเข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฟันคุดในบทความนี้
ฟันคุดเป็นฟันที่เราทุกคนมีอยู่ภายในช่องปากด้วยกันทั้งนั้น แต่ฟันคุดนั้นจะเป็นปัญหาขนาดไหนขึ้นอยู่กับลักษณะการงอก และการดูแลรักษาที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่อย่างไรสุดท้ายเราก็ต้องนำฟันคุดนั้นออกอยู่ดี เพราะหากเก็บไว้อาจเกิดอาการปวด บวม แดง เหงือกอักเสบ จนไปกระทบฟันซี่อื่น และลุกลามกลายเป็นเนื้องอกได้เลยทีเดียว ในกรณีที่ทันตแพทย์พิจารณาให้ผ่าฟันคุดออกเพื่อป้องกันอันตราย และโรคร้ายที่อาจเกิดในอนาคต เราต้องเตรียมตัวอย่างไร มีวิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าอย่างไร น่ากลัวขนาดไหน เรามีคำตอบมาแนะนำในบทความนี้
ฟันคุด หรือ Wisdom tooth คือ ฟันกรามซี่สุดท้ายที่ขึ้นช้าที่สุด โดยปกติจะขึ้นเมื่ออายุประมาณ 18-25 ปี แต่บางคนอาจจะขึ้นเร็วกว่าหรือช้ากว่านี้ก็ได้ อาจโผล่ขึ้นมาในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ โดยฟันคุดเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ส่วนใหญ่มาจากขากรรไกรของเราอาจมีขนาดเล็กจนไม่มีที่ว่างเพียงพอ หรือฟันซี่อื่น ๆ เรียงตัวชิดกันเกินไป รวมไปถึงพันธุกรรมที่คนในครอบครัวเคยเกิดฟันคุดมาก่อน จึงทำให้ฟันคุดที่กำลังจะขึ้นมา ขึ้นผิดตำแหน่ง หรือฝังตัวอยู่ใต้เหงือก จนอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้นั่นเอง
ฟันคุดที่พบส่วนใหญ่ แบ่งตามการฝังตัวในเหงือกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
อาการของฟันคุด มีอะไรบ้าง
ฟันคุด เมื่อเริ่มก่อกวนมักจะส่งสัญญาณเตือนให้เรารู้ตัว อาการเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณอาจมีปัญหาเกี่ยวกับฟันคุดและควรปรึกษาทันตแพทย์โดยเร็ว
ทำไมต้องผ่าฟันคุด ?
ถึงแม้ฟันคุดจะเป็นฟันซี่สุดท้ายที่ขึ้น แต่ก็มักก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้มากมาย จนหลายคนต้องตัดสินใจผ่าตัดเอาออก การผ่าฟันคุดไม่ได้เป็นการรักษาที่จำเป็นสำหรับทุกคน แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในช่องปากที่รุนแรงขึ้นได้ ซึ่งเหตุผลที่ต้องผ่าฟันคุดมีดังนี้
ทั้งนี้ การผ่าฟันคุดอาจเป็นการตัดสินใจที่ยาก แต่หากพิจารณาถึงข้อดีทั้งหมดแล้ว การผ่าฟันคุดออกจึงถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพช่องปากในระยะยาว และช่วยให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกทางหนึ่ง
ตอบ ระยะเวลาในการพักฟื้นหลังผ่าฟันคุดจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการผ่าตัด และการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดด้วย โดยทั่วไปแล้ว อาการบวม และปวดจะค่อย ๆ ทุเลาลงภายใน 3-7 วัน แต่แผลอาจใช้เวลาในการสมานตัวประมาณ 2 สัปดาห์
ตอบ หลังผ่าฟันคุด ควรรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย และไม่ระคายเคืองแผล เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น โดยแนะนำให้ทานอาหารเหล่านี้ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุปใส น้ำผลไม้ปั่น ไข่ตุ๋น โยเกิร์ต ขนมปังปิ้ง (ปราศจากเมล็ด) และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ เนื้อสัตว์แข็ง ๆ ผักสด ผลไม้ที่มีกาก อาหารเผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด อาหารร้อนจัดอาหารเย็นจัด และอาหารที่มีเมล็ด
ตอบ เพราะที่คลินิกของเราผ่าฟันคุดด้วยการแบ่งฟันเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้นำออกมาได้สะดวกโดยหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อฟันข้างเคียงให้มากที่สุด อาการบวมจึงมีน้อยกว่า และฟื้นตัวได้ไวกว่านั่นเอง